สภาพัฒน์ แนะปรับโครงสร้างใหม่เศรษฐกิจไทย หนุนโตระยะยาว มองเงินดิจิทัลยังไม่ชัด

จีดีพีไทยไตรมาส 3 โตต่ำ 1.5% จากส่งออกหดตัวหนัก ฉุดภาคการผลิตวูบ

คนไทยกับเงื่อนไขดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ไม่เห็นด้วยที่จะต้อง "กู้"

นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สคช.) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยต้องมีการปรับโครงสร้างใหม่ หากอยากให้เติบโตมากกว่าระดับ 3% โดยเฉพาะภาคการผลิตอุตสาหกรรมที่เป็นภาคใหญ่มีผลต่อเศรษฐกิจ ซึ่งจะต้องเร่งปรับโครงสร้าง

โดยรวมเศรษฐกิจไทยก็ยังขยายตัวได้ เพียงแต่ว่าถ้าเราต้องการที่จะให้เศรษฐกิจไทย ขยายตัวได้ดีกว่านี้ ก็ต้องมีการปรับโครงสร้าง โดยเฉพาะเรื่องของการปรับโครงสร้างภาคอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นภาคใหญ่ และเกี่ยวพันกับการส่งออก

ขณะที่ไตรมาส 4 มองว่า แนวโน้มส่งออกเริ่มดีขึ้น ก็อาจจะทำให้ภาคผลิตอุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้นตาม ซึ่งจะช่วยให้เศรษฐกิจไทยเติบโตได้ดีในช่วงปลายปี จึงคาดว่า GDP สิ้นปีนี้จะเติบโตที่ระดับ 2.5%

ส่วนการที่รัฐบาลคาดการณ์ว่า จีดีพีไทยในปี 67 จะเติบโตระดับ 5% นั้น มองว่า เป็นการตั้งเป้าหมายในการบริหารเศรษฐกิจของทางรัฐบาล เพราะในการที่จะทำไปให้ถึงเป้าหมาย 5% คงต้องทำในหลายส่วน โดยเฉพาะส่วนสำคัญ คือ เรื่องการส่งออก และการลงทุน

ซึ่งจะต้องมีการเร่งรัดการลงทุนในภาคเอกชน จะต้องมีการส่งเสริมให้เกิดการลงทุนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมเป้าหมายที่จะเป็นตัวสนับสนุนการเจริญเติบโตของประเทศในระยะยาว รวมทั้งภาคการท่องเที่ยวที่จะต้องมีการปรับในแง่ของคุณภาพและเรื่องของการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวที่เข้ามา จะต้องให้อยู่นานขึ้น และมีการใช้จ่ายมากขึ้น

การทำให้เศรษฐกิจขยายตัวทำได้หลายมาตรการ เราจะเห็นว่าตัวหลัก ๆ เรื่องของการลงทุนรวม และการส่งออก ที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ดีขึ้น เพราะฉะนั้นการจะทำให้เศรษฐกิจไทยจขยายตัว ก็จะมีหลายส่วนประกอบกัน โดยเฉพาะที่สำคัญเรื่องการส่งออก เพราะไทยเป็นประเทศผู้ส่งออก เรื่องการส่งออกสินค้าจะเป็นตัวหลัก เพราะฉะนั้นในการเร่งแก้ปัญหา คงต้องแก้ปัญหาตรงนี้ รวมทั้ง การทำให้เกิดการลงทุน ไม่ว่าจะเป็นเอกชน หรือของภาครัฐ ที่จะต้องขยายการลงทุนให้มากขึ้น

สำหรับเรื่องมาตรการเงินดิจิทัล 10,000 บาท ทาง สคช. ยังไม่ได้มีการคำนวณไว้ เพราะว่าต้องรอความชัดเจนเรื่องอื่น ๆ ด้วย ไม่สามารถใช้แต่เรื่องเงินเข้ามาคำนวณอย่างเดียวไม่ได้ แต่จะต้องมีเรื่องของรูปแบบการใช้จ่าย และเรื่องของร้านค้า เพื่อมาดูประกอบด้วย

เมื่อถามว่า มาตรการเงินดิจิทัล จะทำให้ขีดความสามารถในการดำเนินนโยบายการเงิน (Policy Space) ของไทย เหลือน้อยลงหรือไม่ นายดนุชา กล่าวว่า การทำให้ Policy Space มีช่องว่างที่เพียงพอ ถ้าย้อนกลับไปช่วงก่อนโควิด-19 ไทยมีอัตราส่วนหนี้สาธารณะต่อผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ (Debt-to-GDP Ratio) ที่ 44% และยังมีพื้นที่เหลือราว 16% จากระดับเพพานหนี้ 60%

แต่หลังจากเกิดโควิด-19 ได้มีการกู้เงินเพิ่มขึ้นเพื่อพยุงเศรษฐกิจ ส่งผลให้ Policy Space หายไปค่อนข้างเร็ว เพราะฉะนั้นการรองรับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในช่วงถัดไป สคช. มองว่าจะต้องมีการสร้าง Policy Space ให้เพียงพอ รวมทั้งทำ Physical considerations เพื่อสร้างความเข็มแข็งให้กับภาคการคลัง ในการรองรับวิกฤตที่อาจจะเกิดขึ้น

สคช. เห็นว่าน่าจะต้องมีการ สร้างตัว Policy Space ให้เพียงพอ รวมทั้งการทำ Physical considerations เพื่อสร้างเสถียรภาค สร้างความแข็งแรงในแง่ของภาคการตคลัง เพื่อร้องรับความผันผวน ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นจากความขัดแย้งในตะวันออกลกาง ถ้าไม่ขยายวงก็ดีไป ถ้าขยายวงแล้วเกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย และเศรษฐกิจโลก เราก็ต้องมี Policy Space ที่เพียงพอในการรองรับวิกฤต

 สภาพัฒน์ แนะปรับโครงสร้างใหม่เศรษฐกิจไทย หนุนโตระยะยาว มองเงินดิจิทัลยังไม่ชัด

ด่วนคำพูดจาก สล็อต777! 4 คนร้ายบุกยิงนักเรียนช่างภายในซ.ระนอง 2 เสียชีวิต 1 ราย

โดดเด่นบนเวที Miss Universe! “ชุดเทพธิดาอาณาจักรอยุธยา“ ถูกเลือกลงหนังสือพิมพ์ ”เอลซัลวาดอร์“

มอเตอร์เวย์ M81 “บางใหญ่ – กาญจนบุรี” เตรียมเปิดทดลองใช้ฟรีปลายปี

You May Also Like

More From Author