จีนทำซีรีส์ทวงคืนวัตถุโบราณจากพิพิธภัณฑ์อังกฤษ

ซีรีส์ดังกล่าวมีทั้งหมด 3 ตอน ชื่อว่า “Escape from the British Museum” บอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับกาน้ำชาหยกของจีนที่มีชีวิตขึ้นมาและกลายร่างเป็นมนุษย์ หลบหนีออกมาจากบริติชมิวเซียมในกรุงลอนดอน เมืองหลวงของอังกฤษ เพราะต้องการกลับประเทศบ้านเกิดของตนเอง โดยได้รับความช่วยเหลือจากนักข่าวชาวจีนคนหนึ่งที่บังเอิญพบระหว่างหาทางกลับบ้าน

กาน้ำชาหยกที่ถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นตัวนำในซีรีส์เรื่องนี้เป็นวัตถุที่มีอยู่จริงและตอนนี้ถูกเก็บไว้ในบริติชมิวเซียม

รายงานออสซี่เผย เทคโนโลยีจีนหลายด้านล้ำหน้ากว่าชาติตะวันตก คำพูดจาก รวมเว็บ PG Slot

ปิดการฝึกผสม BLUE STRIKE 2023 กองทัพเรือไทย-จีน

หยู ถิง ศิลปินชาวจีนที่เชี่ยวชาญด้านการแกะสลักหยกอันประณีต เป็นผู้สร้างสรรค์กาน้ำชาชิ้นนี้ขึ้นมาเมื่อปี 2011 แม้จะไม่ถือว่าเป็นมรดกทางวัฒนธรรม แต่ด้วยเทคนิคอันละเอียดอ่อนที่ใช้ในการแกะสลักลวดลายบนกาน้ำชาเป็นรูปแบบศิลปะที่มีเอกลักษณ์เฉพาะของจีน และถือว่ามีคุณค่าสำหรับชาวจีนอย่างมาก

หลังซีรีส์ Escape from the British Museum เผยแพร่ตอนแรกออกมาเมื่อวันที่ 27 สิงหาคมที่ผ่านมา ผ่านทางแพลตฟอร์ม “โต่วอิน” หรือ TikTok สำหรับใช้งานในประเทศจีนโดยเฉพาะ จำนวนผู้เข้าชมก็มีมากถึง 270 ล้านครั้ง

ขณะที่ผู้ผลิตซีรีส์เรื่องนี้ก็มีผู้ติดตามใหม่เพิ่มมากถึง 5 ล้านคนภายในหนึ่งสัปดาห์ ทั้งยังจุดกระแสให้บรรดาอินฟลูเอนเซอร์ชาวจีนแต่งชุดจีนโบราณตามนักแสดงนำในเรื่องนี้ด้วย

แต่ประเด็นหนึ่งที่ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึงอย่างกว้างขวางหลังซีรีส์เรื่องนี้ออกฉายคือ การเรียกร้องให้อังกฤษส่งคืนมรดกทางวัฒนธรรมของจีนกลับบ้าน

ผู้ใช้แพลตฟอร์มโต่วอินรายหนึ่งแสดงความคิดเห็นว่า บางทีโบราณวัตถุชิ้นอื่นๆ ก็อาจจะคิดถึงบ้านเหมือนกันและอาจต้องการกลับประเทศบ้านเกิดของตนเอง

ส่วนผู้ใช้แพลตฟอร์มเวยป๋อรายหนึ่งได้แสดงความเห็นว่า วัตถุโบราณเหล่านั้นจะต้องได้กลับบ้านเกิดอย่างมีศักดิ์ศรีในสักวันหนึ่ง

ขณะที่สำนักข่าว CCTV ของรัฐบาลจีนก็ออกมาสนับสนุนซีรีส์เรื่องนี้ โดยระบุว่าดีใจที่เห็นคนหนุ่มสาวให้ความสนใจกับประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมจีนมากขึ้น และหวังว่าจะได้รับโบราณวัตถุที่ถูกเก็บไว้ในบริติชมิวเซียมกลับคืนมาในเร็ววันเช่นกัน

ทั้งนี้บริติชมิวเซียมได้เก็บมรดกทางวัฒนธรรมของจีนไว้มากถึง 23,000 ชิ้น รวบรวมมาตั้งแต่ในยุคหินใหม่หรือราว 12,000 ปีก่อน จนถึงยุคปัจจุบัน

เช่น ม้วนภาพวาดเกี่ยวกับการตักเตือนสั่งสอนสุภาพสตรีในราชสำนัก ซึ่งมีอายุอยู่ในช่วงคริสตศักราชปี 400-700 หรือช่วงราชวงศ์ถัง / ขวดแก้วลวดลายมังกรที่ถูกสร้างขึ้นในศตวรรษที่ 15 หรือช่วงราชวงศ์หมิง และรูปปั้นเครื่องหินสมัยราชวงศ์หมิงช่วงศตวรรษที่ 16

อย่างไรก็ตาม วัตถุโบราณของจีนหลายชิ้นถูกปล้นโดยกองทัพอังกฤษที่เข้ามารุกรานจีนในช่วงปี 1900ในตอนนั้น ขบวนการชนชั้นรากหญ้าได้ออกมาโจมตีและสังหารชาวต่างชาติ รวมทั้งชาวจีนที่นับถือศาสนาคริสต์ เนื่องจากไม่พอใจที่ชาวต่างชาติเข้ามายึดที่นาทำกินและก่อสร้างโบสถ์ ส่งผลให้กองทัพ 8 ประเทศซึ่งรวมถึงอังกฤษเข้าปิดล้อมกรุงปักกิ่งเพื่อยุติการโจมตี และยึดสมบัติของราชวงศ์มากมายกลับไปยังประเทศของตนเอง

ที่ผ่านมา ไม่มีรายงานการออกมาเรียกร้องให้อังกฤษคืนโบราณวัตถุที่ถูกขโมยมาจากจีนมากเท่าไรนัก อย่างไรก็ดี ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ชาวจีนได้ออกมาเรียกร้องเรื่องนี้มากขึ้น ท่ามกลางความพยายามของประธานาธิบดีสี จิ้นผิงที่ต้องการผลักดันอัตลักษณ์จีนให้แข็งแกร่งเพื่อต่อต้านชาติตะวันตก ซึ่งปลุกกระแสชาตินิยมในหมู่ประชาชน

นอกเหนือจากกระแสการเรียกร้องที่เกิดขึ้นในโซเชียลมีเดียอย่างโต่วอินแล้ว เมื่อวันที่ 28 สิงหาคมที่ผ่านมา The Gobal Times สำนักข่าวภาษาอังกฤษของรัฐบาลจีนได้เผยแพร่บทบรรณาธิการเพื่อขอให้บริติชมิวเซียมคืนมรดกทางวัฒนธรรมทั้งหมดของจีนคืนมา โดยระบุว่า ในฐานะสื่อของจีน เราขอร้องอย่างเป็นทางการต่อบริติชมิวเซียมให้คืนโบราณวัตถุจีนทั้งหมดที่ได้มาผ่านช่องทางที่ไม่เหมาะสมกลับมาประเทศจีน โดยทางบริติชมิวเซียมต้องไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ กับจีน

บทความดังกล่าวมีขึ้น หลังจากเมื่อวันที่ 16 สิงหาคมที่ผ่านมา มีรายงานว่าวัตถุโบราณราว 2,000 ชิ้นถูกขโมย ได้รับความเสียหาย และหายไปอย่างลึกลับ

ซึ่งบทความของ The Gobal Times ก็ได้วิจารณ์บริติชมิวเซียมว่าล้มเหลวในการดูแลทรัพย์สินทางวัฒนธรรมของประเทศอื่นๆ ทั้งที่ก่อนหน้านี้กล่าวอ้างว่าวัตถุทางวัฒนธรรมของต่างประเทศได้รับการคุ้มครองที่ดีกว่าเมื่ออยู่ในบริติชมิวเซียม

ทั้งยังวิจารณ์ว่า โบราณวัตถุของบริติชมิวเซียมล้วนมาจากประเทศอื่นและได้มาด้วยช่องทางที่ไม่เหมาะสมและสกปรก ด้วยเหตุนี้ บริติชมิวเซียมอาจเรียกได้ว่าเป็น ผู้รับสินค้าที่ถูกขโมยที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งจัดแสดงทรัพย์สินทางวัฒนธรรมที่ถูกขโมยมาทั้งหมด

อย่างไรก็ตาม ทางฝั่งบริติชมิวเซียมไม่ได้ออกมาแสดงความเห็นใดๆ เกี่ยวกับบทความดังกล่าว

ทั้งนี้บริติชมิวเซียมได้รวบรวมโบราณวัตถุมากถึง 8 ล้านชิ้นจากทั้งหมด 6 ทวีป ในทวีปแอฟริกา เช่น ศิลาโรเซตตาของอียิปต์ ประติมากรรมศีรษะของออกัสตัส จักรพรรดิโรมันคนแรกที่ถูกค้นพบบริเวณซูดาน และเบนินบรอนซ์ แผ่นโลหะที่ประดับในพระราชวังเบนินที่ปัจจุบันอยู่ในประเทศไนจีเรีย

ส่วนทวีปยุโรป เช่น ประติมากรรมประดับวิหารพาร์เธนอนของประเทศกรีซ ขณะที่ในทวีปยุโรป เช่น รูปปั้นอมราวดีจากอินเดีย

วัตถุโบราณส่วนมากถูกวิจารณ์ว่าได้มาจากการรุกรานและขโมยมาจากประเทศที่ตกอยู่ภายใต้อาณานิคม ทำให้หลายประเทศ เช่น ซูดาน ไนจีเรีย และกรีซออกมาเรียกร้องให้บริติชมิวเซียมคืนโบราณวัตถุที่ถูกขโมยไป

ด้านบริติชมิวเซียมปฏิเสธมาตลอดโดยระบุว่า วัตถุเหล่านั้นจะปลอดภัยกว่าเมื่ออยู่ภายใต้การดูแลของพิพิธภัณฑ์ พร้อมทั้งยืนยันว่าจะดูแลรักษาและอนุรักษ์โบราณวัตถุเหล่านั้นให้ดีที่สุด

อย่างไรก็ดี มรดกทางวัฒนธรรมบางชิ้นก็ถูกส่งคืนประเทศที่ถูกค้นพบแล้ว อย่างรูปปั้นโมอาย ประติมากรรมรูปเคารพศักดิ์สิทธิ์ของชาวราปานุยซึ่งปัจจุบันยังอาศัยบนเกาะอีสเตอร์ ในประเทศชิลี

รูปปั้นโมอายถูกนำออกมาจากเกาะอีสเตอร์ในปลายปี 1868 และจัดแสดงอยู่ในบริติชมิวเซียมมาตั้งแต่ปี 1869

ผ่านมานานถึง 149 ปี ในปี 2018 ชนเผ่าปารานุยได้เรียกร้องให้บริติชมิวเซียมคืนรูปปั้นดังกล่าว โดยระบุว่ามรดกทางวัฒนธรรมชิ้นดังกล่าวเป็นจิตวิญญาณของชาวปารานุย

การเจรจาดำเนินต่อเนื่องยาวนานถึง 4 ปี โดยทางการชิลีเป็นตัวแทนเจรจากับบริติชมิวเซียม วันที่ 21 กุมภาพันธ์ปี 2022 รูปปั้นโมอายก็ได้เดินทางกลับประเทศบ้านเกิดของตนเองในที่สุด

ทั้งนี้หลังมีรายงานวัตถุโบราณราว 2,000 ชิ้นหายไปจากพิพิธภัณฑ์ ประเทศต่างๆ ที่ต้องการทวงคืนวัตถุโบราณก็ยิ่งออกมากดดันบริติชมิวเซียมมากขึ้น โดยให้เหตุผลเรื่องการรักษาความปลอดภัยที่หละหลวม

 จีนทำซีรีส์ทวงคืนวัตถุโบราณจากพิพิธภัณฑ์อังกฤษ

You May Also Like

More From Author